วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การบริหารการศึกษา (Educational Administration)

            การบริหารการศึกษา เป็นการจัการทางการศึกษาที่มุ่งทิศทางการควบคุมและการจัดการทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับกิจการทางการศึกษา ซึ่งนักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ อาทิ
            นพพงษ์ บุญจิตราดุล (2534, หน้า 3) ให้ความหมายว่า  การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการเพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุก ๆ ด้าน นับแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม ให้มีค่านิยมตรงกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่าง ๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล อาศัยทรัพยากร เทคนิคต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่
              สรุปได้ว่าการบริหารการศึกษาอาจพิจารณาว่าเป็นกิจกรรมประเภทหนึ่ง หมายถึง  กิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลหลาย ๆ คน ร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาให้เด็ก เยาวชน ประชาชนหรือสมาชิกของสังคมในทุก ๆ ด้าน ให้มีความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยมหรือคุณธรรม เป็นสมาชิกที่ดี (ทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ) มีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นระเบียบแบบแผนทั้งในระบบ – นอกระบบโรงเรียน
          การบริหารการศึกษา เป็นวิชาชีพชั้นสูง (Profession) เช่นเดียวกับวิชาชีพอื่น ตามปกติแล้ววิชาชีพขั้นสูงมักมีองค์ประกอบดังนี้ (ธร สุนทรายุทธ, ม.ป.ป.,หน้า 1-3)
          1. ให้บริการแก่สังคมโดยไม่ซ้ำซ้อนกับสาขาวิชาอื่น
          2. ให้บริการโดยวิธีการแห่งปัญญา
         3. เป็นอิสระในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ  
         4. ผู้ให้บริการหรือสมาชิกของวิชาชีพต้องได้รับการศึกษาระดับสูง  
         5. ผู้ใช้วิชาชีพต้องมีความประพฤติดี มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ        
         6. มีสถาบันอาชีพเป็นแหล่งกลางที่จะสร้างสรรค์จรรโลงความมั่นคงแห่งวิชาชีพของสมาชิก
       ในสหรัฐอเมริกา วิชาบริหารการศึกษาถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูเช่นเดียวกับวิชาแพทย์ศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้จะมีกฎหมายบังคับว่า ผุ้ที่จะเป็นผู้บริหารการศึกษาเช่น ครูใหญ่ (Principul) ศึกษาธิการ (Superrintendent) ต้องได้รับการฝึกอบรมด้านบริหารทางการศึกษา ซึ่งจะได้รับใบอนุญาตให้ประกอบอาชีพ (License) ได้ ดังนั้น วิชาบริหารการศึกษาจึงนับว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงวิชาหนึ่ง
ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการบริการอื่น ๆ
1.ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ การบริหารราชการแผ่นดิน มีความประสงค์เพื่อความอยู่ดีกินดี ส่วนการบริหารการศึกษามุ่งเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
2. บุคคล
                2.1  ผู้ให้บริการ บุคคลที่ให้บริการทางการศึกษา คือครูอาจารย์ ผู้อำนวยการ ผู้บริหารต้องเป็นคนมีคุณภาพ  เป็นคนดี แตกต่างจากผู้บริหารราชการแผ่นดิน
                 2.2  ผู้รับบริการ ผู้รับบริการในการบริหารการศึกษาจะเป็นเด็กเยาว์วัย ส่วนบุคคลที่รับบริการราชการแผ่นดินคือ คนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
            3.กรรมวิธีในการดำเนินงาน การบริหารการศึกษา เป็นกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อน การบริหารราชการแลการบริหารธุรกิจจะนำไปใช้ไม่ได้

            4. ผลผลิต การบริหารการศึกษาเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพทางการศึกษา ส่วนผลผลิตทางการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจ เป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้ง่าย เช่น มีคลองระบายน้ำ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น